วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รองเท้าที่เหมาะสมกับการวิ่งสำหรับคนไทย-Running shoes

รองเท้าที่เหมาะสมกับการวิ่งสำหรับคนไทย



                รองเท้าที่สวมใส่สำหรับวิ่งมีความสำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่ง  ที่จะป้องกันและรักษาการบาดเจ็บจากการวิ่ง  จริงอยู่รองเท้าคู่หนึ่ง  ขนดหนึ่งไม่ได้เหมาะสำหรับนักวิ่งทุกๆ คน  ถึงแม้ความเจริญก้าวหน้าของรองเท้าในปัจจุบันจะได้ออกแบบใหม่ๆ และเนื้อรองเท้า ให้มีความปลอดภัยในการวิ่งมากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นความมั่นคง  ความอ่อนนิ่มยืดหยุ่นและการดูดซับแรงกระแทก
                  ก่อนที่จะไปถึงการเลือกรองเท้าที่สวมใส่  สำหรับวิ่งขอให้นึกถึงว่าเราเป็นคนไทย  รูปเท้า  ฝ่าเท้าของเราอาจไม่เหมือนชาวต่างชาติ  ดังนั้น รองเท้าจากต่างประเทศอาจจะเหมาะหรือไม่เหมาะสำหรับเราก็ได้
                  จากผลงานวิจัยฝ่าเท้าของคนไทย 2,000 เท้า และนักีฬาไทยทุกระดับความสามารถ ( นักเรียน อุดมศึกษา ทีมชาติ ) โดยข้าพเจ้า ศาสตราจารย์นายแพทย์สิทธิ์  เตชะกัมพุช และอาจารย์ที  ดอนโพธิ์งาม  พบสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเลือกรองเท้าสำหรับสวมใส่ดังนี้
                 1. เกี่ยวกับส่วนนำของเท้า  ซึ่งได้แก่  หัวแม่เท้าหรือนิ้วชี้นั้น  ผลของการวิจัยบอกได้ว่า  พวกที่มีหัวแม่เท้าเป็ฯส่วนนำมีประมาณ 40-50%   และพวกที่มีทั้งหัวแม่เท้าและนิ้วชี้เป็นส่วนนำ ( เท่ากัน) มีประมาณ 10-15% ประโยชน์ที่น่าจะได้จากผลการวิจัยนี้  ได้แก่การออกแบบรองเท้า  ควรให้มีส่วนนำของรองเท้าค่อนมาทางหัวแม่เท้ามากกว่าที่จะอยู่กลางๆ  เพราะจะทำให้เกิดการบีบเบนหัวแม่เท้าไปทางด้านนิ้วก้อย  ทำให้เกิดการอักเสบของข้อต่อนิ้วเท้าหรือเกิดการเสื่อมของข้อต่อนิ้วเท้าได้
                 2. ความยาวของเท้าเป็นประมาณหนึ่งในเจ็ดเท่าของความสูงของบุคคลนั้น  กล่าวคือ  หากทราบความสูงของบุคคลนั้น  ก็สามารถทราบความยาวของฝ่าเท้าได้ทันที
                 3. ในขณะยืนรับน้ำหนักตัวเต็มที่นั้น  นิ้วก้อยไม่สัมผัสกับพื้นถึงร้อยละ 20-30% ซึ่งแสดงว่านิ้วก้อยมิได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการยืนรับน้ำหนักอย่างนิ้วอื่น ๆ ของเท้าจำนวนไม่น้อย
              4. ส่วนกว้างสุดของรอยฝ่าเท้าตามแนวเฉียงระหว่างนิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วก้อย  กับส่วนกว้างสุดบริเวณส้นเท้า  มีอัตราส่วนประมาณ 1.8 : 1  ความสัพันธ์อันนี้  น่าจะนำมาเป็นประโยชน์ในการออกแบบรองเท้ากล่าวคือ  ควรให้มีความกว้างสุดตามแนวเฉียงระหว่างนิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วก้อยมีความกว้าง 1.8 เท่า  ของความกว้างสุดของส้นเท้า  ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการบีบคับฝ่าเท้า โดยเฉพาะขณะเดินหรือวิ่ง
               5.ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างส่วนสูงของความโค้งของฝ่าเท้ากับน้ำหนักตัวของผู้นั้น  ฉะนั้น  ความเชื่อที่ว่าคนอ้วนมักมีอุ้งฝ่าเท้าแบนนั้น  จึงไม่เป็นจริงเสมอไป
              
  เมื่อได้ทราบอาจเป็นแนวทางสำหรับคนไทยเราเแล้ว  รองเท้าวิ่งที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
            
                 1.ความพอดี ( ฟิต)
                   เป็นสิ่งสำคัญสิ่งแรกที่สุดที่ต้องเลือกสวมรองเท้าที่พอดีไม่แคบ ไม่บีบรัดส่วนใดของเท้า  รองเท้าที่ผิดๆ มักจะยาวและแคบทำให้บีบรัดส่วนกว้างที่สุดของฝ่าเท้าและเกิดการบาดเจ็บจากการวิ่งได้
                2. เชือกรัดรองเท้า
                     ควรอยู่ตรงกลางและปล่อยส่วนปลายเท้าให้ว่างเว้นไว้จะดีกว่า  ใช้เชือกรัดรองเท้ายาวจากปลายมาตลอด  ถึงแม้จะปรับความพอดีของรองเท้าได้แต่เมื่อวิ่งนานๆ หรือระยะไกล  การเสียดสีหรือถูไถของเชือกบริเวณปลายเท้าส่วนที่เขย่งเมื่อวิ่งจะทำให้เกิดผิวหนังพุพองได้
                3. ส่วนหุ้มส้นเท้าที่ยกสูงขึ้นมาควรมีหรือไม่
                     ขณะวิ่งเมื่อเขย่งเท้าโดยข้อเท้ากระดกลงจะทำให้ส่วนที่ยื่นบนหลังส้นเท้านั้นกดที่เอ็นร้อยหวายพอดี  วิ่งนานๆ ทำให้เกิดการอักเสบของตัวเอ็นหรือปลอกหุ้มเอ็นของเอ็นร้อยหวายได้  เมื่อมีปัญหาเช่นนี้ให้ตัดออกเสียเลย   หรือตลบลงด้านหลังหรือผ่าตัดแยกเสียเลย
                4.พื้นส้นเท้า
                    พื้นส้นเท้าสำหรับนักวิ่งต้องกลม  เพราะส้นเท้าเรากลมถ้าไม่ฟิตพอดีทำให้ไม่มีความมั่นคงของส้นเท้า  จะเกิดการบาดเจ็บตามมาและเจ็บหลังส้นเท้าควรแข็งและแน่นเพื่อความมั่นคงของส้นเท้าเช่นกัน
                5. พื้นรองเท้า
                       พื้นชั้นในที่รองรับฝ่าเท้า ควรนิ่มและยืดหยุ่น และมีส่วนนูนรับอุ้งเท้าเพื่อให้ฟิตพอดี  พื้นด้านนอกแข็งแต่บริเวณกึ่งกลางควรยืดหยุ่นและหักงอได้  และมีที่ยึดเกาะพื้นได้ดี  ไม่ราบเรียบจนลื่น
                   6. พื้นรองเท้าบริเวณส้นเท้าอาจเฉียงขึ้น  เพื่อความรวดเร็วในการเคลื่อนไหวก้าวเท้าขณะวิ่ง
                 7. รองเท้าวิ่งควรมีส้นสูงเล็กน้อย                  ประมาณ2เซ็นติเมตรทั้งนี้เพื่อแบ่งเบาการทำงานของเอ็นร้อยหวายและกล้ามเนื้อต้นขา 
                  8. วัสดุที่ห่อหุ้มรองเท้า
                        ไม่ควรแข็ง  เพราะจะเกิดการเสียดสี  ทำให้ร้อนและผิวหนังพองได้  ไม่ว่าจะเป็นหนัง ผ้าใบ หรือไนล่อน  ควรยืดหยุ่น  นิ่มและระบายความร้อนได้ดี
                 9. น้ำหนักรองเท้า
                       ถ้าหนักก็มีความมั่นคงดี  แต่วิ่งได้ช้า  ดังนั้น  การเลือกใส่  นอกจากความพอใจในน้ำหนักความพอดีแล้ว   ถ้าแข่งขันใช้น้ำหนักเบา  ก็จะทำให้วิ่งได้เร็วขึ้น
                      เมื่อใส่วิ่งแล้วควรตรวจดูและซ่อมแซม  การชำรุดสึกหรอเพื่อไม่ให้ผิดรูปไป  ทำให้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้ง่าย

( หนังสือบาดเจ็บจากการวิ่ง  โดย...รศ.นพ.ธีรวัฒน์  กุลทนันทน์  )                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น